New Thai Patent Draft Act Released for Public Hearing
[สำหรับภาษาไทย โปรดดูด้านล่าง]
Alert! New Thai Patent Draft Act Released for Public Hearing
The Department of Intellectual Property (DIP) of Thailand released the new draft of the Thai Patent Act (the “Draft”) this morning, December 16, 2024, for public hearing. The hearing period is open from today until January 31, 2025. Please note that this Draft is not an amendment to the current Patent Act; rather, it is a completely new proposed Patent Act. Significantly, the Draft expands the current Act’s 88 sections to 171 sections.
Our team is currently reviewing the Draft in detail. Below is a summary of key proposed changes for invention patents:
- Increased Official Fees: Official fees will rise significantly. For example, the fee for filing an invention patent application will increase from THB 500 to THB 3,500 for the first 30 pages, with an additional charge of THB 40 for each page thereafter.
- Access to Genetic Resources and Benefit Sharing (ABS) (Section 20): Applicants must declare the source of origin of genetic resources, biological resources, or traditional knowledge and submit documents relevant to the use thereof.
- Patent Eligibility (Section 11): Surgical methods will be explicitly categorized as ineligible subject matter. While this aligns with the current practice outlined in the patent examination manual, it is now formally included in the Draft.
- Shortened Publication Period (Section 32): Patent applications will now be published (First Publication) 18 months after the filing date in Thailand or the priority date. (This requirement does not currently exist.)
- Reduced Examination Request Period (Section 33): The period to request substantive examination will be reduced from “five years after the publication date” to “three years from the filing date in Thailand”.
- Formal Third-Party Observation Introduced (Section 34): While third-party observations are unofficially allowed under current practice, the Draft formalizes the submission of such observations.
- Second Publication Introduced (Section 35): A Second Publication stage has been introduced, which will occur after the examination is completed and before registration.
- Revised Opposition Timeline (Section 36): To prevent delays in examination, the opposition period will now take place after the Second Publication, replacing the current 90-day opposition period following the First Publication.
- Removal of Mandatory Submission of Foreign Examination Results: The Draft removes the requirement to submit foreign examination results. This eliminates the risk of a patent application being deemed abandoned due to non-compliance with this requirement.
- Special Compulsory License for Pharmaceuticals (Section 64): A new provision introduces special export licenses for medicines, establishing a mechanism aligned with Article 31bis of the TRIPS Agreement.
We will share additional insights on changes to design patents and petty patents in due course.
If you have any questions or comments, please feel free to contact at patent@lexel.co.th.
——————————————————————-
ประกาศ! ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตรใหม่เปิดรับฟังความคิดเห็น
กรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) ได้เผยแพร่ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฉบับใหม่ (หรือ “ร่างฯ”) ในเช้าวันนี้ วันที่ 16 ธันวาคม 2567 เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็น โดยกำหนดระยะเวลาแสดงความคิดเห็นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 โปรดทราบว่าร่างฉบับนี้ไม่ใช่การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฉบับปัจจุบัน แต่เป็นร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฉบับใหม่ทั้งหมด ซึ่งมีการขยายจาก 88 มาตราในฉบับปัจจุบันเป็น 171 มาตรา
ทีมงานของเรากำลังพิจารณารายละเอียดในร่างฯ อย่างรอบคอบ อย่างไรก็ดี ในเบื้องต้นเราได้สรุปประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่เสนอสำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังนี้:
- การขึ้นค่าธรรมเนียมอย่างมีนัยสำคัญ: ตัวอย่างเช่น ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จะเพิ่มขึ้นจาก 500 บาท เป็น 3,500 บาท สำหรับ 30 หน้าแรก และคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม 40 บาทต่อหน้าสำหรับหน้าที่เกินจากนั้น
- การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ (ABS) (มาตรา 20): ผู้ขอรับสิทธิบัตรต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของทรัพยากรพันธุกรรม ทรัพยากรชีวภาพ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น และยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรดังกล่าว
- การประดิษฐ์ที่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ (มาตรา 11): วิธีการผ่าตัดจะถูกระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรได้ ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบัน วิธีการผ่าตัดจะไม่สามารถขอรับสิทธิได้ตามคู่มือการตรวจสอบสิทธิบัตร แต่ร่างฯ นี้ได้กำหนดไว้ในกฎหมายอย่างเป็นทางการ
- การย่นระยะเวลาการประกาศโฆษณา (มาตรา 32): คำขอรับสิทธิบัตรจะถูกประกาศโฆษณา (การประกาศโฆษณาครั้งที่ 1) 18 เดือนหลังจากวันยื่นคำขอในประเทศไทยหรือวันที่ยื่นคำขอครั้งแรก (ไม่มีข้อกำหนดนี้ในปัจจุบัน)
- การลดระยะเวลาในการร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ (มาตรา 33): ระยะเวลาในการขอตรวจสอบสิทธิบัตรจะลดลงจาก “5 ปีหลังวันประกาศโฆษณา” เป็น “3 ปีนับจากวันยื่นคำขอในประเทศไทย”
- การยื่นข้อสังเกตของบุคคลที่สาม (Third-Party Observation) อย่างเป็นทางการ (มาตรา 34): แม้ว่าการยื่นข้อ Third-Party Observation จะสามารถดำเนินการได้ภายใต้แนวปฏิบัติในปัจจุบัน แต่ร่างกฎหมายนี้ได้กำหนดขั้นตอนการยื่นข้อสังเกตดังกล่าวให้เป็นทางการมากขึ้น
- การเพิ่มขั้นตอนการประกาศโฆษณาครั้งที่ 2 (มาตรา 35): มีการเพิ่มการประกาศโฆษณาครั้งที่ 2 หลังจากการตรวจสอบเสร็จสิ้น และก่อนการจดทะเบียน
- การปรับช่วงเวลาการคัดค้าน (มาตรา 36): เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตรวจสอบ การคัดค้านจะถูกย้ายไปยังช่วงหลังการประกาศโฆษณาครั้งที่ 2 แทนที่จะเป็นภายใน 90 วันหลังการประกาศโฆษณาครั้งที่ 1
- การยกเลิกข้อกำหนดการยื่นผลตรวจสอบจากต่างประเทศ: ร่างฯ นี้ได้ยกเลิกข้อกำหนดการยื่นผลการตรวจสอบสิทธิบัตรจากต่างประเทศ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่คำขอจะถูกถือว่าละทิ้งเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว
- การบังคับใช้สิทธิพิเศษสำหรับยา (มาตรา 64): มีการเพิ่มข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับใบอนุญาตส่งออกพิเศษสำหรับยา เพื่อสร้างกลไกที่สอดคล้องกับ Article 31bis ภายใต้ความตกลง TRIPS
LEXEL จะนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาระสำคัญในร่างฯ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และอนุสิทธิบัตรในลำดับถัดไป
หากมีคำถามหรือความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเราที่ patent@lexel.co.th
Author(s):
Dr Radeemada Mungkarndee
Partner,Head of Patents &Life Sciences
rm@lexel.co.th